วันพุธ, 27 พฤศจิกายน 2567

มาตรการเยียวยา ล็อคดาวน์ ล่าสุด

15 ก.ค. 2021
1501

นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในฐานะผู้อำนวย ศบค. ผ่านวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ ได้พิจารณามาตรการควบคุมการแพร่ระบาดโควิด-19 ระลอก 4 หลังจากจำนวนผู้ติดเชื้อโควิดและเสียชีวิตเพิ่มขึ้นสูงมาก

หลังจากที่ได้เกิดการติดเชื้อโควิดในจำนวนที่มากถึง วันละ 9000 กว่าคน 


รัฐบาลจึงได้ทำการแก้ไขสถาณการณ์เพื่อป้องกันการระบาดหนักมากยิ่งขึ้น จึงได้ขอความร่วมมือประชาชนชาวไทยทั้งประเทศ ในวันที่ 12 กรกฏาคม 2564 ได้สั่ง “เคอร์ฟิว” และ “ล็อคดาวน์”และทั้งนี้ได้เกิดผลกระทบต่อผู้ทำงานต่างๆ  

ซึ่งในวันที่ 13 ก.ค. 64 จากมติที่ประชุมคณะรัฐมนตรี อนุมัติมาตรการเยียวยาประชาชนรอบใหม่ในกลุ่มแรงงานที่รับผลกระทบจากประกาศ “เคอร์ฟิว” และ “ล็อคดาวน์” เฉพาะในพื้นที่ 10 จังหวัด พื้นที่สีแดงเข้ม หรือพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด

ทั้งนี้ ตาม มติคณะรัฐมนตรี หรือ ครม. เห็นชอบมาตรการเยียวยากลุ่มผู้ได้รับผลกระทบจากมาตรการล็อกดาวน์ในครั้งนี้ 

จาก 9 กลุ่มอาชีพ

กิจการก่อสร้าง

กิจการที่พักแรงบริการด้านอาหาร

กิจกรรมศิลปะ ความบันเทิงและนันทนาการ

กิจกรรมบริการด้านอื่น ๆ

สาขาการขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า

สาขาขายส่งและการขายปลีก การซ่อมยานยนต์

สาขากิจกรรมการบริหารและบริการสนับสนุน

สาขากิจกรรมวิชาชีพ วิทยาศาสตร์และกิจกรรมทางวิชกาการ

สาขาข้อมูลข่าวสารและการสื่อสาร

รายละเอียดของการเยียวยา แบ่งตามกลุ่มผู้ได้รับผลกระทบ

1. ลูกจ้าง ม. 33 ในกิจการ 9 หมวด รัฐจะจ่ายเงินเยียวยาให้ 50% ของรายได้ (สูงสุดไม่เกิน 7,500 บาท) และจ่ายสมทบให้ลูกจ้างสัญชาติไทยอีก 2,500 บาทต่อคน รวมแล้วได้สูงสุด 10,000 บาท

2. นายจ้าง ม. 33 ในกิจการ 9 หมวด รัฐจะจ่ายให้ตามจำนวนลูกจ้าง 3,000 บาทต่อราย สูงสุดไม่เกิน 200 คน

3. สำหรับผู้ประกันตนตาม ม. 39 และ 40 รัฐบาลจะช่วยเหลือค่าใช้จ่ายให้ 5,000 บาทต่อคน

4. ผู้ประกอบอาชีพอิสระ (freelance) ให้ขึ้นทะเบียนตาม ม. 40 ภายในเดือน ก.ค. นี้ เพื่อรับค่าช่วยเหลือ 5,000 บาท (ตามข้อ 3)

5. ผู้ประกอบการที่มีลูกจ้างแต่ไม่ได้อยู่ในระบบประกันสังคม ให้ขึ้นทะเบียนตาม ม.33 ภายในเดือน ก.ค. นี้ เพื่อรับเงินช่วยเหลือตามข้อ 1 และ 2

สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงานได้ออกมาประกาศระบุว่า “ประกันสังคมขอเน้นย้ำ นายจ้างบุคคลธรรมดา และผู้ประกันตนที่ได้รับการเยียวยา จะได้รับเงินผ่านการโอนเข้าบัญชีพร้อมเพย์ที่ผูกกับเลขประจำตัวประชาชนเท่านั้น เพื่อป้องกันความผิดพลาดในการโอนเงินเข้าบัญชี”