บทความนี้จะพามารู้จักกับสารสีแดง ที่ช่วยดูแลผิวพรรณให้สดใสเปล่งปลั่งกันนะคะซึ่งก็คือ สาร ไลโคปีน (Lycopene) นั่นเองค่ะ มาดูไปพร้อมกันเลยนะคะ ว่า ไลโคปีน (Lycopene)คืออะไร หาได้จากที่ไหน และมีประโยชน์อย่างไรกันบ้างนะคะ
สารไลโคปืน (Lycopene) มีรากศัพท์มาจากภาษาลาตินคำว่า Lycopersicum ซึ่งเป็นชื่อทางวิทยาศาสตร์ บ่งบอกสปี ชีส์ของมะเขือเทศ (Solanum lycopersicum)
ไลโคปืนจัดเป็นสารประกอบแคโรที่นอยด์ชนิดหนึ่งใน 600 ชนิด ละลายได้ดีในไขมัน เช่นเดียวกับ เบต้าแคโรทีน ไลโคปีนที่พบในธรรมชาติ พบได้ในพืชจำพวก มะเขือเทศ แตง โม ฝรั่งสีชม เกรฟฟุตสีชมพู มะละกอ และผลไม้สีแดงอื่นๆ ซึ่งสารดังกล่าวมีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระ ที่มีประสิทธิภาพสูงไลโคปีน (Lycopene มีฤทธิ์มากกว่า เบต้า-แคโรทีน , โท โคอล(วิตามินอี) ถึง 2และ10 เท่า ในการต้านอนุมูลอิสระ และการยับยั้งการเกิดมะเร็ง
ไลโคปีน (Lycopene) เป็นสารสีแดงที่อยู่ในผักและผลไม้บางชนิด และจัดว่าเป็นสารต้านอนุมูลอิสระชนิดหนึ่ง ที่เป็นหน่วยย่อยของแคโรทีนอยด์ (Carotenoids)นะคะ ซึ่งไลโคปีนนั้น ขึ้นชื่อว่าเป็นสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยเฉพาะการบำรุงผิวพรรณนั่นเองค่ะ
อาจมีหลายคนเข้าใจว่า สารต้านอนุมูลอิสระชนิดนี้ สามารถพบได้เฉพาะในมะเขือเทศเท่านั้นนะคะ แต่ความจริงแล้ว ไลโคปีนสามารถพบได้ ในผักผลไม้ชนิดอื่นด้วยเช่นกันนะคะ รวมทั้งไม่ได้มีสรรพคุณแค่ช่วยบำรุง และปกป้องผิวเพียงอย่างเดียวเท่านั้น เพราะมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์อื่น ๆ ที่บ่งชี้ว่า Lycopene อาจช่วยบรรเทาภาวะความดันโลหิตสูง และยังสามารถช่วยลดระดับไขมันในเลือด ที่เป็นสาเหตุของโรคเรื้อรังหลายชนิดอีกด้วยนะคะ ต่อไปมาดูประโยชน์ของ ไลโคปีน (Lycopene) กันต่อเลยค่ะ
ประโยชน์ของ ไลโคปีน (Lycopene)
ด้วยโครงสร้างทางเคมี ที่ช่วยในการปรับสมดุลของกระบวนการในร่างกาย จึงทำให้ไลโคปีนนั้น มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ดังนี้นะคะ
- ช่วยปกป้องผิว
โดยปกติแล้ว ผิวพรรณที่สวยงามมักมีพื้นฐานมาจากผิวที่แข็งแรง และสุขภาพดีนะคะ ซึ่งการดูแลผิวให้แข็งอยู่เสมอนั้น จะสามารถช่วยป้องกันปัญหาผิวที่เกิดขึ้นได้ แต่มลภาวะอย่างแสงแดดก็ถือว่าเป็นอีกปัจจัยหนึ่ง ที่ส่งผลกระทบต่อผิวไม่น้อยเลยนะคะ เพราะการโดนแดดแรงๆนั้น อาจทำให้เกิดอาการผิวไหม้แดด ส่งผลให้สีผิวคล้ำขึ้นและสารอีลาสติน (Elastin) ที่มีผลต่อความยืดหยุ่นของผิวลดลงได้นั่นเองค่ะ โดยมีการศึกษาพบว่า ไลโคปีน (Lycopene) จะช่วยปกป้องผิวจากแสงแดดได้
จากการศึกษาสรรพคุณของสารต้านอนุมูลอิสระประเภทแคโรทีนอยด์ ที่รวมถึงไลโคปีนด้วยนั้น จะพบได้ว่าแคโรทีนอยด์นั้นอาจช่วยปกป้องผิวจากการทำร้ายของแสงจากดวงอาทิตย์ ซึ่งมักก่อให้เกิดผื่นแดง แสบ และผิวอักเสบได้ ดังนั้น การบริโภคอาหารที่มีแคโรนอยด์เป็นส่วนประกอบ ก็อาจจะช่วยบำรุงผิวให้แข็งแรง และทนทานต่อแสงแดดมากยิ่งขึ้น จึงอาจช่วยลดปัญหาผิวไวต่อแดดได้นั่นเองค่ะ
- ป้องกันโรคหลอดเลือดสมองและโรคหลอดเลือดหัวใจ
โรคหลอดเลือดสมองและโรคหลอดเลือดหัวใจ เป็นโรคเรื้อรังที่ต้องการการรักษาอย่างต่อเนื่อง และอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นมาได้ จนเป็นอันตรายถึงชีวิตเลยนะคะ โดยทั้ง 2 โรคนี้มีความเกี่ยวข้อง และมีสาเหตุที่ทำให้เกิดคล้ายกัน คือ ภาวะความดันโลหิตสูง และภาวะคอเลสเตอรอลในเลือดสูง
โดยคอเลสเตอรอลหรือไขมันในเลือดที่มากเกินไป จะไปกระตุ้นให้หลอดเลือดสมองและหลอดเลือดหัวใจเกิดการอักเสบ อุดตัน และเสียหายทจนทำให้เกิดโรคดังกล่าวขึ้น นอกจากนี้ ทั้ง 2 ภาวะนี้ยังเป็นสาเหตุของโรคอีกหลายโรคเลยนะคะ ดังนั้น ถ้าหากควบคุม หรือลดระดับความรุนแรงของภาวะเหล่านี้ได้ ก็อาจจะสามารถช่วยลดความเสี่ยงของโรคต่าง ๆ ได้เช่นกันค่ะ
จากการศึกษาในกลุ่มผู้ป่วย จากกลุ่มอาการระบบการเผาผลาญผิดปกติ (Metabolic Syndrome) เป็นเวลากว่า 10 ปี ซึ่งเป็นภาวะที่ทำให้เกิดความดัน และไขมันในเลือดสูงนั้น พบว่าสารสีแดงชนิดนี้ มีส่วนช่วยปรับสมดุลของสารอนุมูลอิสระ ที่เป็นตัวการกระตุ้นให้เซลล์ภายในหลอดเลือดบริเวณหัวใจ และสมองเกิดการอักเสบและเสียหาย ดังนั้น การบริโภคอาหารที่มี Lycopene ปริมาณสูงอยู่เป็นประจำนั้น อาจช่วยลดความดันเลือด และลดไขมันภายในเลือดที่เป็นสาเหตุของโรคหลอดเลือดสมอง และโรคหลอดเลือดหัวใจได้นั่นเองค่ะ
- ป้องกันโรคมะเร็งบางชนิด
โรคมะเร็งเป็นโรคที่เกิดจากปัจจัยเสี่ยงหลาย ๆ ปัจจัยรวมกัน รวมถึงการที่เซลล์เสื่อม ได้รับความเสียหาย หรืออ่อนแอลง โดยในระยะยาวเซลล์เหล่านี้ อาจถูกปัจจัยบางอย่างกระตุ้น และกลายเป็นเซลล์มะเร็งในที่สุด แต่ด้วยสรรพคุณในการต้านอนุมูลอิสระของแคโรทีนอยด์ และไลโคปีน จึงมีการศึกษาสรรพคุณในการต่อต้านเซลล์มะเร็งของสารเหล่านี้ จากการศึกษาจำนวนหนึ่งที่ทดลองสรรพคุณของแคโรทีนอยด์ในการลดความเสี่ยงจากโรคมะเร็ง ผลพบว่า สารอาหารประเภทแคโรทีนอยด์ที่มี Lycopene รวมอยู่ในนั้นด้วย อาจช่วยลดความเสี่ยงของโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก และโรคมะเร็งปอด แต่ก็ยังมีการศึกษาที่ชี้ว่าการรับประทานสารนี้ในปริมาณมากเกินไปอาจเพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งต่อมลูกหมากได้เช่นกันนะคะ เพราะฉะนั้นแล้ว จึงควรบริโภคแต่พอดีนะคะ
ไลโคปีนหาจากไหนได้บ้าง ?
หลายคนอาจทราบดีนะคะว่า ไลโคปีนสามารถพบได้ในมะเขือเทศ
-โดยในมะเขือเทศสดปริมาณ 100 กรัมอาจมีไลโคปีน 3 มิลลิกรัม
-ส่วนมะเขือเทศอบแห้งในปริมาณเดียวกันอาจมีสารชนิดนี้ถึง 46 มิลลิกรัม
สาเหตุที่มะเขือเทศอบแห้งนั้นมีปริมาณสูงกว่า ก็เพราะว่าไลโคปีนจะถูกย่อยและดูดซึมได้ง่ายขึ้นเมื่อผ่านความร้อน โดยเฉพาะการปรุงที่ใช้น้ำมัน ซึ่งซอสมะเขือเทศและน้ำมะเขือเทศก็มีสารนี้ในปริมาณที่สูงกว่ามะเขือเทศสดเช่นกัน นอกจากมะเขือเทศแล้ว ยังอาจพบสารต้านอนมูลอิสระชนิดนี้ได้จากผลไม้ อย่างแตงโม ฝรั่งสีชมพู และมะละกอ แต่อาจพบในปริมาณน้อยกว่ามะเขือเทศที่ผ่านการปรุงสุกแล้วนะคะ
ส่วนความปลอดภัยในการรับประทานไลโคปีน ส่วนใหญ่แล้วหากไม่มีอาการแพ้อาหารเหล่านั้น สารที่ได้รับจากอาหารมักไม่มีความเสี่ยงต่อโรคหรือความผิดปกติใด ๆ เราควรได้รับไลโคปีน 9-21 มิลลิกรัมต่อวัน แต่หากบริโภคอาหารที่หลากหลายและครบถ้วนในแต่ละวัน ก็อาจช่วยให้ได้รับไลโคปีนอย่างเพียงพอแล้วนะคะ
สำหรับการใช้ไลโคปีนในรูปแบบอาหารเสริม ควรปรึกษาแพทย์ถึงความจำเป็น ปริมาณ และวิธีในการใช้ที่ถูกต้อง เพื่อความปลอดภัย โดยเฉพาะผู้ที่กำลังตั้งครรภ์และผู้ที่มีโรคประจำตัวด้วยนะคะ