ในปัจจุบัน โรคมะเร็งกลายเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญทั่วโลก โดยมีปัจจัยเสี่ยงมากมายที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรค รวมถึงพฤติกรรมการกิน การรับประทานอาหารบางชนิดสามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งได้ เนื่องจากอาจมีสารก่อมะเร็งหรือสารที่กระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง บทความนี้เราจะสำรวจความสัมพันธ์ระหว่างการกินอาหารและความเสี่ยงต่อโรคมะเร็ง โดยเน้นถึงอาหารที่ควรหลีกเลี่ยงเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง
อาหาร 7 ประเภทที่ควรเลี่ยง ได้แก่
- อาหารที่มีไขมันสูง เช่น เนย มาการีน น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว เนื่องจากไขมันจากสัตว์และไขมันอิ่มตัวจะก่อให้เกิดการอักเสบของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกายและก่อให้เกิดมะเร็งลำไส้ มะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก
- อาหารแปรรูป / หมักดอง เช่น ไส้กรอก เบคอน ปลาร้า ปลาเค็ม แหนม เนื่องจากอาหารแปรรูป / อาหารหมักดอง จะมีดินประสิวและสารไนไตรต์ ไนเตรต เป็นส่วนประกอบที่อาจก่อให้เกิดมะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งลำไส้
- อาหารที่มีการปนเปื้อนสารเคมีต่าง ๆ เช่น อาหารสีฉูดฉาดผิดปกติ เนื่องจากมีส่วนผสมของสีผสมอาหารมากจนเกินไป และผัก ผลไม้ที่ปนเปื้อนยาฆ่าแมลงก่อให้เกิดมะเร็งกระเพาะอาหารได้
- อาหารปิ้ง รมควัน จนไหม้เกรียม / อาหารทอดน้ำมันซ้ำ ๆ เช่น หมูย่าง เนื้อย่าง ไก่ทอด มันฝรั่งทอด ซึ่งการปิ้งรวมควันอาหารจนไหม้เกรียมจะก่อให้เกิดสารพีเอเอช (Polycyclic Aromatic Hydrocarbon – PAH) ก่อให้เกิด มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม.
- อาหารกึ่งสุก กึ่งดิบ เช่น ปลา ปู กุ้ง หอย ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดพยาธิใบไม้ในตับ ซึ่งสามารถพบในสัตว์น้ำจืด ส่งผลให้เกิดภาวะตับแข็งและเป็นมะเร็งตับ มะเร็งท่อน้ำดี
- อาหารที่มีเชื้อรา เช่น ถั่วลิสง พริกแห้ง หอม กระเทียม เมล็ดพืช ซึ่งส่งผลให้เกิดมะเร็งตับ
- เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากแอลกอฮอล์เป็นเหตุให้ตับทำงานหนักมากขึ้น จนเกิดภาวะตับแข็ง และจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งในช่องปาก มะเร็งตับ มะเร็งกระเพาะอาหาร และมะเร็งอื่น ๆ อีกหลายชนิด
โรคมะเร็งที่คนไทยเป็นมากที่สุด 5 อันดับ ได้แก่:
- มะเร็งตับและมะเร็งท่อน้ำดี: เป็นโรคที่พบมากที่สุดเป็นอันดับ 1 ซึ่งพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิงถึง 3 เท่า ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 30-70 ปี โรคมะเร็งตับมีสาเหตุหลักคือ การได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบ การดื่มแอลกอฮอล์ รับสารพิษอะฟลาท็อกซิน (Aflatoxin) การรับยาบางชนิด และพันธุกรรม
- มะเร็งปอด: เป็นโรคที่พบมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ในผู้ชายไทย พบว่าสาเหตุหลักของมะเร็งปอดมาจากการสูบบุหรี่ หรือรับควันบุหรี่ โดยอาการเริ่มแรกมักมีการไอเสมหะหรือไอมีเลือด เจ็บหน้าอก หายใจดังและถี่ ความอยากอาหารลดลง เป็นต้น
- มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก: เป็นโรคที่เกิดขึ้นได้กับทุกวัยโดยเฉพาะคนทำงาน อาการของมะเร็งลำไส้ใหญ่มักปรากฏให้เห็นเช่น อุจจาระมีเลือดปน น้ำหนักลด มีอาการลำไส้อักเสบเรื้อรัง เป็นต้น
- มะเร็งเต้านม: พบมากในผู้หญิงตั้งแต่วัยสาวเป็นต้นไป โรคมะเร็งเต้านมเกิดจากความผิดปกติของเซลล์ในต่อมน้ำนมและท่อน้ำนม โดยสาเหตุของโรคมะเร็งเต้านมมีหลายปัจจัย เช่น กรรมพันธุ์ อายุ มีประจำเดือนตอนอายุน้อย ๆ หรือหมดประจำเดือนช้ากว่าปกติ เป็นต้น
- มะเร็งปากมดลูก: เป็นหนึ่งในโรคมะเร็งที่สร้างความกังวลใจให้กับผู้หญิงจำนวนมาก เนื่องจากเป็นโรคที่มีโอกาสเกิดได้ง่าย จึงไม่น่าแปลกใจที่ในแต่ละปีจะพบผู้ป่วยรายใหม่มากถึง 500,000 คนทั่วโลก และยังเป็นอันดับต้นๆ ของโรคมะเร็งในผู้หญิงไทย มักพบในช่วงอายุ 30-70 ปี
ทั้งหมดเหล่านี้ล้วนเกิดจากพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เช่น การกินอาหารที่ไม่ดี การสูบบุหรี่ และขาดการออกกำลังกาย